วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมส่งงานวิจัยของแต่ละคน และอาจารย์ติวก่อนสอบ


วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ LD
            1. การดูแลให้ความช่วยเหลือ
              - สร้างความภาคภูมิใจใจตนเอง
              - มองหาจุดดีจุดแข็งและให้คำชมอยู่เสมอ
              - การเสริมแรงทางบวก
               - รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
              - วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกบการเรียนรู้ของเด็ก
              - สังเกตความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
              -  IEP
            2. การรักษาด้วยยา
               - Ritalin
               - Dexedrine
               - Cylext
            หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
               - สศศ. สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ช่วยเหลือประสานงานและส่งตัวเด็ก
               - โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
               - ศูนย์การศึกษาพิเศษ Early Intervention ย่อมาจาก EI
               - โรงเรียนเฉพาะความพิการ
                - สถานบันราชานุกูล

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                    แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
          จุดมุ่งหมายของการดูแลกลุ่มอาการดาวน์ เพื่อรักษาตามอาการหรือแก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย  เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  การดูแลรักษาเน้นการดูแลแบบองค์รวม (holistic approach) โดยทีมสหวิชาชีพ
          1. ด้านสุขภาพอนามัย 
เนื่องจากอาจมีความผิดปกติหลายอย่างที่พบร่วมด้วยได้ในกลุ่มอาการดาวน์ รวมทั้งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อยกว่าเด็กทั่วไป จึงควรแนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้ค้นหาและให้การรักษาได้ทันที รวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ เช่น การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด
          2. การส่งเสริมพัฒนาการ 
เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม จึงควรแนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป
          3. การดำรงชีวิตประจำวัน  
เด็กกลุ่มอาการดาวน์ควรจะได้รับประสบการณ์ชีวิตเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป  จึงควรฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด  เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ รู้จักควบคุมตนเอง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆ ในสังคมได้
          4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่
               - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
               - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
               - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Skills) การจดทะเบียนรับรองความพิการ
               - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
การส่งเสริมพัฒนาการ
          การส่งเสริมพัฒนาการเป็นการจัดบริการให้ความช่วยเหลือแก่เด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ปี ให้มีโอกาสพัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ สมวัยหรือสูงสุดตามศักยภาพ โดยจัดการเรียนการสอนตามวัย ฝึกทักษะด้านต่างๆ การช่วยเหลือตนเองและสังคม ตามความต้องการของบิดามารดา
          วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
          1. เพื่อให้เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้
          2. ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิด แสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพได้
          3. เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
          4. เพื่อให้บิดามารดามีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร
          เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
          1. เป้าหมายทั่วไป เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
          2. เป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น และแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
           ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
          1. พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์และภาษาดีขึ้น
          2. สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
          3. สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
          4. ลดปัญหาพฤติกรรม ลดผลของความพิการ
          5. คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากวันนี้มีการสอบในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไป พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
 1.พัฒนาการด้านร่างกาย (physical development)        
 2.พัฒนาการด้านสติปัญญา (cognitive development)
 3.พัฒนาการด้านจิตใจ- อารมณ์ (emotional development)
                 4.พัฒนาการด้านสังคม (social development
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้  เช่น เด็กอายุ 20 เดือนแต่ยังเดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกติเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9 – 15 เดือน เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
1.ปัจจัยทางด้านชีวภาพ         
2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด        
3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด          
4.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลัง
5.ปัจจัยด้านการศึกษา
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
 1. โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
               6. สารเคมี           
               7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร        
 อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
          มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา  การใช้ภาษา  ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
          1. การซักประวัติ
          2. การตรวจร่างกาย
          3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
          4.การประเมินพัฒนาการ       

เพื่อนๆนำเสนองานกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
กลุ่มที่ 1 เรื่อง ออทิสติก
หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบเด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
อาการทางสังคม
เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับ
ปัญหาด้านภาษา         
เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
- เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
- เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
- เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
- เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็ก autism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบ้าง
ความสามารถพิเศษ
เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือสาเหตุของ Autismสมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
กลุ่มที่ 2 ดาวน์ซินโดรม
เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซมจะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง
สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
- โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
- โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
- มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
ลักษณะของเด็กดาวน์
ทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้นระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ

การส่งเสริมพัฒนาการ

เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

งดการเรียนการสอน 

             เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองจึงทำให้เดินทางมาเรียนไม่สะดวกและอาจจะเป็นอันตรายได้ อาจารย์จึงงดการสอนในสัปดาห์นี้
วิชาเด็กพิเศษวันพรุ่งนี้ อ.เบียร์งดการเรียนการสอนนะครับ เนื่องจากเพื่อนๆหลายๆคนมีปัญหาเรื่องการเดินทาง
*ให้ทั้งเตรียมสรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้นะครับ
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย

10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ  เรื่องที่เกี่ยวกับกับความต้องการสำหรับเด็กพิเศษ  มีดังนี้
            1.  ความบกพร่องทางสมองพิการ
            2.  ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( LD. )
            3.  โรคสมาธิสั้น